การจัดการเรียนรู้เเบบอริยสัจ


ดวงเดือน  เทศวานิช (2530: 87-88 ) ได้กล่าวถึง การจัดการเรียนรู้เเบบอริยสัจ ว่า
ความหมาย
              การสอนแบบอริยสัจสี่ หมายถึง การสอนที่พระพุทธเจ้าทรงคิดขึ้น เพื่อใช้เป็นคำสอนซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา และมีขั้นตอนคล้ายคลึงกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่
               1. ทุกข์ คือ การเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นปัญญา ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ การพิจารณาปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
               2. สมุทัย คือ การหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือสาเหตุแห่งปัญหา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ถ้ากำจัดตัณหาได้ ทุกข์ก็คงจะหมดไป เมื่อรู้ถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว ก็ลองกำหนดหลักการในการแก้ไขปัญหา เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ทำสมาธิ เป็นต้น ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การตั้งสมมติฐาน”
               3. นิโรธ คือ การดับทุกข์ โดยดับที่สาเหตุแห่งทุกข์ ในขั้นนี้เป็นการลองทำตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา จำผลการปฏิบัติไว้พิจารณา เมื่อเห็นว่า ทำทุกรกิริยา ไม่อาจพ้นทุกข์ได้ ก็ทำอย่างอื่นต่อไปได้อีก ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทาศาสตร์ที่ว่า “การรวบรวมข้อมูล”
               4. มรรค คือ ทางแห่งดับทุกข์ เป็นวิถีทางในการแก้ไขปัญหาจาการทดลองแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ตามสมมุติฐานแล้ว เช่น พบว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือการอดอาหารนั้นไม่ได้เป็นผลดับทุกข์ แต่การปฏิบัติตามแนวทางของมรรค 8 หรือมรรคมีองค์แปดนั้นเป็นการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ คือ การเวียนว่ายตายเกิด สำหรับมรรค 8 นั้น ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) 
                เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่ มีส่วนตรงกันกับขั้นต่างๆ ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือต่างก็เป็นวิธีหาหนทางในการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลนั่นเอง

พระครูประพัฒน์ธรรมกิจ (2551)  https://www.gotoknow.org/posts/201977  ได้กล่าวถึง 
การจัดการเรียนรู้เเบบอริยสัจว่า วิธีสอนแบบอริยสัจ   มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
                        1.  ขั้นกำหนดปัญหา หรือขั้นทุกข์  ครูช่วยนักเรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ด้วยความรอบคอบ  และพยายามกำหนดขอบเขตของปัญหา  ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดแก้ไขให้ได้
                     2.  ขั้นตั้งสมมติฐาน  หรือขั้นสมุทัย
                                ก. ครูช่วยนักเรียนให้ได้พิจารณาตัวเองว่าสาเหตุของปัญหาที่ยกขึ้นมากล่าวในขั้นที่  1  นั้นมีอะไรบ้าง
                                ข.  ครูช่วยนักเรียนให้เกิดความเข้าใจว่า  ในการแก้ปัญหาใด ๆ นั้นจะต้องกำจัดหรือดับที่ต้นตอ  หรือแก้ปัญหาเหล่านั้น
                                ค.  ครูช่วยนักเรียนให้คิดว่าในการแก้ที่สาเหตุนั้น  อาจจะกระทำอะไรได้บ้าง  คือให้กำหนดสิ่งที่กระทำเป็นข้อ ๆ ไป

                      3.  ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล  หรือขั้นนิโรธ

                                ก. ขั้นทำให้แจ้ง  ครูต้องสอนให้นักเรียนได้กระทำหรือทำการทดลองด้วยตนเองตามหัวข้อต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่  2 ข้อ ค.
                                ข.  เมื่อทดลองได้ผลประการใด  ต้องบันทึกผลการทดลองแต่ละอย่าง  หรือที่เรียกว่าข้อมูลไว้เพื่อเพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป
                      4.  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  และสรุปผล  หรือ ขั้นมรรค
                                ก.  จากการทดลองกระทำด้วยตนเองหลาย ๆ อย่างนั้น  ย่อมจะได้ผลออกมาให้เห็นชัด  ผลบางประการชี้ให้เห็นว่า  แก้ปัญหาได้บ้าง  แต่ไม่ค่อยชัดเจนนัก  ผลที่ถูกต้องชี้ให้เห็นว่าแก้ปัญหาได้แน่นอนแล้ว  และได้บรรลุจุดหมายแล้ว  ได้แนวทางหรือข้อปฏิบัติที่เราต้องการแล้ว  เหล่านี้หมายความว่า  จะต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในขั้นที่  3  ข้อ ข. นั้น จนแจ่มแจ้งว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาที่กำหนดในขั้นที่  1  ได้สำเร็จ
                                ข.  จากการวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น  จะทำให้เห็นว่าสิ่งใดแก้ปัญหาได้จริง  ต่อไปก็สรุปการกระทำที่ได้ผลนั้นไว้เป็นข้อ ๆ  หรือเป็นระบบ  หรือเป็นแนวทางปฏิบัติและให้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติอย่างเต็มที่ตามแนวทางนั้นโดยทั่วกัน

สรุปการสอนแบบอริยสัจ 4 ได้ดังนี้

                    1.    ขั้นกำหนดปัญหา……… (ขั้นทุกข์)

                            -  ศึกษาปัญหา

                            -  กำหนดขอบเขตของปัญหาที่จะแก้

                     2.    ขั้นตั้งสมมุติฐาน……….. (สมุทัย)

                            -  พิจารณาสาเหตุของปัญหา

                            -   จะต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุ

                            -  พยายามทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงสาเหตุ

                       3.    ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล….(นิโรธ)

                            -    ทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ

                            -    ทดลองได้ผลประการใดบันทึกข้อมูลไว้

                        4.    ขั้นสรุปข้อมูลและสรุปผล……. (มรรค)

                            -    วิเคราะห์เปรียบเทียบ
  
                                   -    สรุปผลและแนวทางเพื่อปฏิบัติ

ตัวอย่างเเผนการจัดการเรียนการสอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่1หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การบวก ลบระคน                                                               เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นายชญานนท์ รัตนบูลย์
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบของจำนวนนับไม่เกิน 100 และ 0  ได้
ตัวชี้วัด
          ค 1.1  ป.1/5  แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบของจำนวนนับไม่เกิน 100 และ 0               
จุดประสงค์
นักเรียนสามารถแสดงวิธีทำและหาคำตอบโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบได้
สาระการเรียนรู้
          การบวก คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์   โดยการรวมสิ่งของเข้าด้วยกัน
การลบ คือการนำจำนวนหนึ่งหักออกจากอีกจำนวนหนึ่ง หรือเป็นการเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวน ซึ่งจำนวนที่เหลือหรือจำนวนที่เป็นผลต่างของสองจำนวน
สาระสำคัญ
          การบวก คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์   โดยการรวมสิ่งของเข้าด้วยกัน
เครื่องหมายบวก (+)  ถูกใช้แทนความหมายของการบวกจำนวนหลายจำนวน
การลบ คือการนำจำนวนหนึ่งหักออกจากอีกจำนวนหนึ่ง หรือเป็นการเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวน ซึ่งจำนวนที่เหลือหรือจำนวนที่เป็นผลต่างของสองจำนวนนี้เรียกว่า "ผลลบ" และใช้เครื่องหมาย ลบ (-) เป็นการแสดงการลบ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.       ทักษะการคิดวิเคราะห์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์        
1. ซื่อสัตย์สุจริต
2. ความรับผิดชอบ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน(10 นาที)
          1. ครูทบทวนบทเรียนว่า การบวก คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์   โดยการรวมสิ่งของเข้าด้วยกัน เครื่องหมายบวก (+)  ถูกใช้แทนความหมายของการบวกจำนวนหลายจำนวน พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างการบวก 5+6 = 11
2. ครูทบทวนบทเรียนว่า การลบ คือการนำจำนวนหนึ่งหักออกจากอีกจำนวนหนึ่ง หรือเป็นการเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวน ซึ่งจำนวนที่เหลือหรือจำนวนที่เป็นผลต่างของสองจำนวนนี้เรียกว่า "ผลลบ" และใช้เครื่องหมาย ลบ (-) เป็นการแสดงการลบ
ขั้นจัดการเรียนการสอน(25 นาที)
ขั้นกำหนดปัญหา  ( ขั้นทุกข์ )
          1. ครูเขียนโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบให้นักเรียนบนกระดาน (โจทย์ปัญหาการบวก นายแดงซื้อขนมราคา 10 บาท และซื้อน้ำราคา 5 บาท นายแดงต้องจ่ายเงินเท่าไร , โจทย์ปัญหาการลบ นายเขียวมีเงิน 20 บาท ซื้อปากกาไป 5 บาท นายเขียวเหลือเงินเท่าไร)    
ขั้นตั้งสมมติฐาน ( ขั้นสมุทัย )
2. ครูถามนักเรียนว่าเราต้องการหาอะไรจากโจทย์ หรือโจทย์ถามอะไร (นายแดงต้องจ่ายเงินเท่าไร,นายเขียวเหลือเงินเท่าไร)
ขั้นทดลอง และ เก็บข้อมูล (  ขั้นนิโรธ )
3. ครูให้นักเรียนลงมือหาคำตอบ
          4. เมื่อนักเรียนได้คำตอบให้เสนอคำตอบนั้นกับครู แล้วครูทำการเฉลยโจทย์ปัญหาการบวกคือ 10+5 = 15 , โจทย์ปัญหาการลบคือ 20 – 5 = 15
          5. ครูแจกเอกสารการเรียนรู้ให้นักเรียน พร้อมโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติ

ขั้นสรุปบทเรียน(15 นาที)
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล  ( ขั้นมรรค )

          1. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปแนวทางการทำโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ (แนวทางการทำโจทย์ปัญหาการบวกและการลบคือหาสิ่งที่โจทย์ถามแล้วอ่านโจทย์เพื่อนำข้อมูลที่โจทย์กำหนดให้มาใช้เพื่อหาคำตอบ)
การวัดและประเมินผล
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
นักเรียนสามารถแสดงวิธีทำและหาคำตอบโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบได้
แบบฝึกหัดในเอกสารการเรียนรู้
ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60

สื่อการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการเรียน
2. แบบฝึกหัดภายในเอกสารประกอบการเรียน

ที่มา
พระครูประพัฒน์ธรรมกิจ. (2551).  https://www.gotoknow.org/posts/201977. [ออนไลน์] 
             เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561
ดวงเดือน  เทศวานิช. (2530). หลักการสอนทั่วไป. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม